สมอเรือ
ปัจจุบันมีการพัฒนาสมอเรือให้มีความหลากหลายรูปแบบ และหลากหลายโครงสร้าง ซึ่งมักจะนิยมใช้ในการยึดเรือกับพื้นทะเล ดังนั้น การเลือกใช้งาน สมอเรือ ให้เหมาะสม จึงมีความจำเป็นอย่างมาก เพื่อความปลอดภัยและลดความเสี่ยง อันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นได้
สมอเรือ
หมายถึง เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ยึดเรือกับพื้นทะเล ซึ่งสมอเรือแบบเก่า จะมีรูปคล้ายตะขอ และมีความยุ่งยากในการเก็บ หากว่าเรือที่มีขนาดใหญ่ขึ้น จึงจำเป็นต้องการสมอที่หนักขึ้น แบบเก่าต้องเกี่ยวขึ้นห้อยและเก็บยึดให้แน่นหนาทำให้กระบวนดังกล่าวนี้เป็นเรื่องที่เสี่ยง อันตรายมากในขณะที่เรือฝ่าคลื่นลม สมอไม่มีกะ (Stock less) ที่เราคุ้นเคยกันในปัจจุบัน จึงสมอชนิดนี้สามารถแขวนที่รูสมอ (hawse pipe) ได้อย่างมั่นคงในระหว่างเรือออกทะเล สมอของเรือบรรทุกเครื่องบิน USS Forrestal หนักถึงตัวละ 6,000 ปอนด์ โซ่สมอยาวถึง 1,800 ฟุต หนัก 246 ตัน
เป็นที่รู้กันโดยทั่วไปว่า เรือทุกลำนั้น จำเป็นต้องมีสมอเรือ เพื่อช่วยในการจอดเรือให้หยุดอยู่กับที่ โดยเรือทุกลำที่จอดจะต้องทอดสมอก่อนจอเรือเสมอก่อนจอด เพื่อทำให้เรือสามารถลอยลำอยู่กับที่ได้อย่างมั่นคง
สมอเรือมี 6 ประเภท คือ
- สมอหัว (bower)
- สมอท้ายขนาดเล็ก (stream)
- สมอ ท้าย (stern)
- สมอกะ (kedge)
- สมอเรือบต (boat)
- สมอสำรอง (sheet)
คำเรียกของชาวเรือ
- ทอดสมอ คือ การโยนสมอเรือซึ่งทำจากเหล็กที่หนักมากและมีเชือกผูกไว้ลงไปในน้ำ
- สมอกิน หมายถึง สมอที่มีขนาดและน้ำหนักที่เหมาะสม เมื่อโยนลงน้ำจะติดพื้นดินหรือพื้นทรายในทะเล
- สมอติด เป็นลักษณะของสมอเรือที่โยนลงน้ำแล้วสมอดันไปติดอยู่กับหิน และไม่สามารถดึงขึ้นมาจากน้ำได้
- สมอเกา คือ เมื่อเราโยนสมอลงไปในน้ำ แต่สมอไม่สามารถยึดกับพื้นเพื่อให้เรือหยุดอยู่นิ่งๆ ได้
การใช้ 'สมอเรือ' แต่ละแบบ
สมอเรือบางแบบจะต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับสถานที่ที่เราจะใช้เรือ ยกตัวอย่างเช่น แม่น้ำ เขื่อน และทะเล ซึ่งสมอบางแบบนั้น ไม่สามารถนำไปใช้กับเรือภายในเขื่อนได้ เนื่องจากใต้พื้นน้ำของเขื่อนจะมีซากต้นไม้ใหญ่ที่ตายแล้วอยู่เป็นจำนวนมากมาย และการใช้สมอผิดประเภทจะทำให้สมอของคุณติดอยู่กับซากไม้ใหญ่จนต้องตัดเชือกและทิ้งสมอไป ซึ่งสำหรับเขื่อนนั้นสามารถใช้หินก้อนใหญ่แทนสมอเพื่อถ่วงเรือไว้ก็พอแล้ว ดังนั้นสมอที่มีลักษณะเป็นเส้นโค้งๆ และสามารถง้างออกได้ในเวลาที่สมอเรือเข้าไปติดกับหิน หรือซากต้นไม้ใหญ่จนไม่สามารถดึงกลับมาได้ จึงเหมาะสำหรับสถานที่ที่มีเศษซากหินเป็นจำนวนมาก
วิวัฒนาการ สมอเรือ
สมอ นั้น มีจากคำศัพท์จกคำว่า “ถมอ” ในภาษาเขมร แปลว่า หิน ชื่อเรียกนี้แสดงให้เห็นถึงวัสดุดั้งเดิมของสิ่งที่ใช้ถ่วงเรือให้จอดอยู่กับที่ว่าเคยทำด้วยหินมาก่อน
สมอเรือโลกเก่า ต้นกำเนิดสมอเรือทั้งมวล
- ความลึกที่เหมาะสม ระดับกลาง 10-20 เมตร ดินตะกอน
- เหมาะสำหรับ เรือสินค้าในแม่น้ำ
หลายคนเห็นครั้งแรกสงสัย นี่สมอเรือหรอ มันเป็นสมอเรือจริงๆ สมัยนั้นยังไม่มีการหลอม หรือความรู้โลหะวิทยาใดๆ คนโบราณเลยใช้แผ่นหินมาเจาะรูร้อยเชือก แล้วผูกกับเรือ จากนั้นจึงโยนเจ้าหินที่ว่าทิ้งลงน้ำ การกระทำเช่นนี้ จึงเป็นการถือกำเนิดสมอขึ้นมาครั้งแรกของโลก
ข้อดี สร้างได้ง่าย ใช้วัสดุตามท้องถิ่นหมู่บ้าน ข้างภูเขา ริมแม่น้ำทำได้หมด หินยังมีความทนทานต่อการกัดกร่อนน้ำทะเล สามารถใช้ได้โดยไม่จำกัดเวลา
ข้อเสีย เป็นสมอที่ใช้หลักการ น้ำหนักถ่วงให้จมดินเลนก้นแม่น้ำ หากกระแสน้ำเชี่ยว ก็ต้องเพิ่มขนาดแผ่นหินให้เหมาะกับเรือ สมอแบบนี้ยังไม่มีการพัฒนาใบฝาน หรือเงี่ยงใดๆ ทำให้เกิดแรงหยุดตรึงได้น้อย
สมอเรือโบราณ ยุคเริ่มพัฒนาการเดินเรือ
- ความลึกที่เหมาะสม ระดับกลาง 10-20 เมตร ดินตะกอน
- เหมาะสำหรับ เรือสินค้าในแม่น้ำ
แรกเริ่มแต่เดิมที เมื่อคนสมัยโบราณสร้างเรือขึ้นมาได้ โดยสร้างเรือขึ้นมาจากไม้ อาจจะขุด เผาแล้วเซาะ ซึ่งจุดประสงค์ของเรือคือเป็นพาหนะที่ใช้ข้ามน้ำหรือบรรทุก เมื่อมีเรือไม้แล้ว ก็ต้องหาสมอไว้ใช้ ฉะนั้นคนโบราณจึงเริ่มสร้างสมอเรือ อุปกรณ์ที่ใช้มานับพันปีหลังจากนี้
ข้อดี สามารถนำอุปกรณ์วัสดุที่พอหยิบหรือหาได้แถวนั้น เอามาประกอบกัน เช่น ก้อนหิน กิ่งไม้ เถาวัลย์ มามัดรวมผูกปะติดปะต่อกัน ก็สำเร็จออกมาเป็นสมอเรือ จากรูปจะเห็นได้ว่า คนโบราณเลือกที่จะทำสมอไสตล์ 2 เงี่ยง ออกมาก่อน เพราะหวังผลในการจิก เกาะ พื้นใต้น้ำได้เยอะ
ข้อเสีย สมอแบบนี้อายุใช้งานสั้น ไม่มีความทนเอาเสียเลย แต่ถ้าใช้ในแม่น้ำที่เป็นน้ำจืด เช่น ขนส่งกกปาปิรุส ขนหินไปสร้างปิรามิด ก็ได้นานหน่อย เพราะน้ำจืดกัดกร่อนไม่แรงเท่าน้ำเค็ม
สมอแบบสองเงี่ยง
- ความลึกที่เหมาะสม ระดับกลาง 10-20 เมตร ดินตะกอน
- เหมาะสำหรับ เรือสินค้าในแม่น้ำ
เป็นสมอเรือรุ่นแรกๆ บนโลกก็ว่าได้ เพราะมีเอกลักษณ์สำคัญที่แสดงว่ามันสมอ คือ " ใบฝาน หรือ เงี่ยงสมอ " ตามรูปนี้จะมีอยู่ 2 ชิ้น คาดว่าใช้สำหรับเรือที่แล่นในแม่น้ำ เช่น เรือลากข้าวสาร หรือเรือที่ยังใช้ฝีพาย ในสมัยโบราณที่เน้นล่องมาตามแม่น้ำ
ข้อดี การออกแบบง่าย มี 2 เงี่ยง เมื่อจอดเรือ เรือที่ลอยอยู่บนผิวน้ำจะหมุนไปเป็นวงกลม สมอก็ยึดพื้นดินได้ง่าย สังเกตดีๆ จะพบว่าส่วนหัวจะเน้นให้มีน้ำหนักมาก คาดว่าจะเน้นให้จมดินเลนของก้นแม่น้ำ
ข้อเสีย สมอแบบนี้มี 2 เงี่ยงก็จริง แต่การที่ไม่มีแพนหางที่ "คอยค้ำ" เมื่อทิ้งลงก้นแม่น้ำ กลายเป็นว่าสมอแบบนี้ก็ นอนแบน ไปกับพื้นข้างล่าง ถ้าพื้นข้างล่างนั้นเป็นดินเลน หรือทราย ก็อาศัยแค่น้ำหนักสมอฝังตัวเองให้จมลงไปเพื่อสร้างแรงยึด แต่ก็ทำได้ไม่มากนัก หากแม่น้ำมีการไหลแรงก็แทบไม่ได้ผลเลย
สมอแบบสองเงี่ยงมีแขน
- ความลึกที่เหมาะสม ระดับลึกเกิน 20 เมตร ดินตะกอน หินขรุขระ
- เหมาะสำหรับ เรือสินค้าในทะเลเปิด
ข้อดี แพนหาง จะช่วยเมื่อเกิดแรงลากจากเรือที่อยู่บนผิวน้ำ แกนหางจะคอยค้ำยันให้เงี่ยงสมออยู่ ไม่ด้านใดก็ด้านหนึ่งพลิกจิกลงไปในพื้นทราย ซึ่งสมอรุ่นนี้เป็นที่นิยมมากในอดีต เพราะแม้เวลาผ่่านมานานเป็นศตวรรตก็รู้ได้ เพราะไม่ว่าเจอซากเรือจมตรงไหน ก็งมเจอสมอหน้าตาแบบนี้ประจำ ทำให้รู้ว่าคนโบราณเริ่มพาเรือออกทะเลใหญ่ ด้วยสมอรุ่นนี้นี่เอง
ข้อเสีย คือเงี่ยงสมอมันแข็งท่อ บางทีก็จิกหินจนติดเป็นหินใต้น้ำไปเลย ทำให้ดึงขึ้นเรือไม่ได้ จึงต้องตัดทิ้ง
สมอโบราณ แบบสองเงี่ยง ไม่มีแขน
- ความลึกที่เหมาะสม ระดับลึกเกิน 20 เมตร ดินตะกอน หินขรุขระ
- เหมาะสำหรับ เรือสินค้าในทะเลเปิด
คนโบราณสร้างสมอเรือแบบนี้ สมัยนั้นคาดว่าโลหะวิทยาคงจะถึงระดับหนึ่งแล้ว อีกทั้งการหล่อให้เหล็กมีรูปทรงโค้งของเงี่ยงสมอก็ต้องใช้ความรู้ทางช่างพอสมควร เหมาะกับยุคสมัยที่เรือเริ่มออกค้าขายในทะเลกว้าง
ข้อดี มีสองเงี่ยง อย่างไรเสีย ตามหลักการของสมอก็กำไรกว่า เงี่ยงเยอะโอกาสเกี่ยวหินสร้างแรงยึดดึงให้กับเรือก็มีมาก
ข้อเสีย การจัดรูปแบบเงี่ยงสมอ ไม่ดีเอาเสียเลย ถ้าสมอคว่ำมันก็พอจะลากจะครูดไปติดกับหินใต้น้ำเพื่อสร้างแรงหยุดได้บ้าง แต่ถ้าหงาย ก็เท่ากับว่า เหมือนเรือจะลากสมอไปแบบลื่นๆ ไม่ติดอะไรเลย
สมอแบบดาวกระจาย
- ความลึกที่เหมาะสม ระดับน้ำลึกเกิน 20 เมตร ดินตะกอน หินขรุขระ
- เหมาะสำหรับ เรือสินค้าในทะเลเปิด
เป็นสมอเรือที่พัฒนาจากรุ่นสองเงี่ยงที่เคยขายดี
ข้อดี มีเงี่ยงสมอถึง 4 เงี่ยง ไม่ว่าจะโยนจากเรือ สมอจะดำดิ่งถึงใต้น้ำ และเกี่ยวหิน จิกหิน จิกทราย ทำเรือหยุดนิ่งไม่ลอยหายไปแน่นอน ต่อให้กระแสน้ำแรงแค่ไหน โยนตรงไหนก็ลอยอยู่ตรงนั้น
ข้อเสีย ด้วยความที่มีเงี่ยงถึง 4 เงี่ยง ถ้าทิ้งในเขตน้ำตื้นมันอันตรายมาก มีสิทธิ์แทงท้องเรือจม
สมอแบบคราด
- ความลึกที่เหมาะสม ระดับน้ำลึกเกิน 20 เมตร ดินตะกอน หินขรุขระ
- เหมาะสำหรับ เรือสินค้าในทะเลเปิด
ข้อดี หลักการเดียวกับสมอเรือแบบดาวกระจาย คือ เน้นรูปทรงง่าย แต่เน้นทำเขี้ยวทำเล็บให้เยอะ เพื่อป้องกันการพลิกของสมอเรือในทุกทิศทาง กระแสน้ำไปทางไหนรับได้หมด
ข้อเสีย สมอรุ่นนี้ คือมันไม่มีใบฝานกว้างๆ ไว้สำหรับพื้นที่นุ่ม เช่น เลนดิน หรือ ชั้นทรายหนาๆ ใต้น้ำ เหมาะสำหรับโยนใส่ดงหินใต้น้ำเสียมากกว่า
สมอแบบหอยเม่น
- ความลึกที่เหมาะสม ระดับน้ำ 5-10 เมตร ดงหินขรุขระ
- เหมาะสำหรับ เรือตกปลา เรือยางดิงกี้
สมอรูปร่างหน้าตาแปลกๆ แบบนี้ เป็นสมอสไตล์เรือตกปลา
ข้อดี การออกแบบจากเหล็กทรงกลม หรือบ้องตันๆ แล้วติดหนามไว้รอบๆ เหมาะสำหรับดักจิกหินตามแนวปะการัง ส่วนลักษณะพิเศษ ให้สังเกตเหล็กเส้นสีเทา อันนั้น เอาไว้สำหรับให้ห่วงเหล็กที่ผูกเชือกเรือ เผื่อกรณีที่สมอติดแง่งหิน ราวรูดนี้จะช่วยให้หลุดได้
ข้อเสีย ใช้กับน้ำตื้นไม่ได้อันตราย เพราะซี่หนามนั้นมันหุบไม่ได้
สมอแบบหอยเม่นลบเหลี่ยม
- ความลึกที่เหมาะสม ระดับน้ำตื้น 0-5 เมตร พื้นทราย ดงหินขรุขระ
- เหมาะสำหรับ เรือตกปลา เรือยางดิงกี้
จากปัญหาสมอหอยเม่น ซึ่งมีเหล็ก (พับไม่ได้) โดยรอบ มันก็พร้อมแทงได้หมด ไม่ว่าท้องเรือดิงกี้ที่แล่นเข้าน้ำตื้น เนื่องจากการออกแบบสมอหอยเม่นที่มีรูปร่างอันตรายเกินไป เลยมีการออกแบบกันใหม่
ข้อดี ไม่มีความคม ใบเงี่ยงมน เดินเหยียบก็ไม่เป็นไร เพิ่มความปลอดภัย
ข้อเสีย อัตราการจิกต่ำมาก โยนได้เฉพาะเขตน้ำตื้น ที่มีดงหิน เจอท้องน้ำที่เป็นทรายก็ลำบากหน่อย เพราะตัวมันใช้แค่ฝานทื่อๆ ติดขอบหินใต้น้ำถึงจะทำงาน
สมอเรือแบบถ้วย
- ความลึกที่เหมาะสม ระดับน้ำตื้น 0-5 เมตร พื้นทราย ดงหินขรุขระ
- เหมาะสำหรับ เรือตกปลา เรือยางดิงกี้
ข้อดี สมอแบบนี้เป็นมิตรกับทุกคนในเขตหาดชุมชนน้ำตื้น มีความปลอดภัยสูง
ข้อเสีย มันไม่จิกหินจิกทรายเอาซะเลย ลงท้องทรายใต้น้ำไม่ติดฝาน
สมอแบบสามเหลี่ยม
- ความลึกที่เหมาะสม ระดับน้ำตื้น 0-5 เมตร พื้นทราย ดงหินขรุขระ
- เหมาะสำหรับ เรือตกปลา เรือยางดิงกี้
เป็นสมอเรือประเภททุ่นถ่วง หลักการไม่มีอะไรมาก เหมือนสมอเรือยุคโบราณคือเอาเชือกผูกหินกลมๆ โตๆ สักลูกแล้วก็โยนลงน้ำ มีตุ้มน้ำหนัก แล้วก็ลากไปกับท้องน้ำที่เป็นหิน
ข้อดี เหมาะสำหรับเรือเล็ก ขนาดเบา เข้าน้ำตื้น เช่น เรือดิงกี้ เรือคายัค เพราะสมอแบบนี้โยนง่าย เก็บง่าย วางบนเรือใช้พื้นที่น้อย แม้ว่าหน้าตาจะไม่ค่อยคุ้น
ข้อเสีย คือ แรงยึดแทบไม่มี เมาะกับพายเรือตามทะเลสาบน้ำนิ่งๆ
สมอเรือแบบตอหม้อ
- ความลึกที่เหมาะสม ระดับน้ำตื้น 0-5 เมตร พื้นทราย ดินเลนแม่น้ำ
- เหมาะสำหรับ เรือตกปลาคายัค เรือยางดิงกี้
ข้อดี เป็นการออกแบบสมอ ที่เน้นใช้กำลังถ่วงมากกว่ากำลังยึด เน้นให้จมโคลนเลนใต้แม่น้ำ และเป็นแม่น้ำที่ไหลเอื่อยตามทะเลสาป คลอง หรือตกปลาตามเขื่อนก็ได้ผล เพราะใต้น้ำจะมีพวกแขนงรากไม้มาก
ข้อเสีย รูปทรงออกแบบเช่นนี้ ใช้ได้เฉพาะเรือเล็ก เรือคายัค แคนนู ดิงกี้ เท่านั้น เพราะสมอแบบนี้ ใช้หลักการลูกถ่วง มากกว่าลูกใบ ใบฝานไม่มีเลย
สมอหนวดปลาหมึก
- ความลึกที่เหมาะสม ระดับน้ำตื้น 0-5 เมตร ใต้น้ำที่มีแขนงรากไม้
- เหมาะสำหรับ เรือตกปลาคายัค เรือยางดิงกี้
ข้อดี เป็นสมอที่เกิดมาเพื่อนักตกปลาตามเขื่อนโดยเฉพาะ เพราะท้องน้ำตามเขื่อนมักจะมีแขนงรากไม้จำนวนมาก โอกาสที่สมอจะไปติดกับรากไม้ใต้น้ำมีสูงมาก สมอแบบหนวดปลาหมึก จึงแก้ปัญหด้วยการใช้เหล็กเส้นสี่เส้น กระจายเป็นหนวดหมึกเพื่อเกี่ยวรากไม้ใต้น้ำเพื่อจอด และเมื่อจะออก เราก็แค่ออกแรงดึงขึ้นมาหลุดจากรากไม้ได้ง่ายดาย
ข้อเสีย สมอหนวดปลาหมึก เหมาะสำหรับที่ที่มีรากไม้ แง่งหินใต้น้ำมากๆ เท่านั้น ถ้าไปเจอท้องน้ำที่มีทรายโล่งๆ คือมันหาแรงเกี่ยวหยุดไม่ได้เลย
สมอเรือแบบสี่แฉกพับได้
- ความลึกที่เหมาะสม ระดับน้ำตื้น 0-5 เมตร พื้นทราย ดินเลนแม่น้ำ
- เหมาะสำหรับ เรือตกปลาคายัค เรือยางดิงกี้
เป็นสมอที่มีการพัฒนามาจากรุ่นตกปลาธรรมดาที่เป็นเหล็กเส้นหนวดปลาหมึกสี่แฉก
ข้อดี สามารถพับและกางเงี่ยงได้ สมอเรือรุ่นนี้สามารถพับได้เวลาปักลงในทราย เงี่ยงที่เหลือ สามารถหุบแนบตัวสมอได้ เลยปลอดภัยกับคนที่เดินผ่านไปผ่านมาบนหาด หรือ ถ้าทิ้งในน้ำตื้นประมาณหัวเข่า เงี่ยงที่หุบนี้ก็จะไม่ขูดกับท้องเรือคนอื่นในบริเวณนั้น
ข้อเสีย เหมาะสำหรับเรือเล็กเท่านั้น เรือคายัคตกปลา เรือดิงกี้ เพราะเสมอแบบนี้มีเงี่ยงที่เล็ก เพราะไม่สร้างแรงดึงแรงหยุดเหมือนสมอรุ่นอื่นๆ
สมอแบบ CQR
ข้อดี CQR เป็นสมอชนิดใบฝานเดียวที่ได้รับการพัฒนา จุดเด่นคือ จากเดิมสมอใบฝานเดี่ยว จะแข็งท่อ แต่ CQR การออกแบบให้ตรงส่วนคอสมอ สามารถทำมุมหักได้ ตามทิศทางเรือที่หมุนวนอยู่บ้นผิวน้ำ เรือดึงไปทางไหนมันก็หันตามได้
ข้อเสีย สมอใบฝานเดียว จุดอ่อนคือ โอกาสพลิกมีสูง ถ้าลงน้ำไปแล้วตะแคงจังหวะสมอดำดิ่งลงไปถึงท้องน้ำ มันก็จะตะแคงแล้ว ก็ไม่ได้ผลอะไรเลย
การใช้สมอเรือ
ขณะที่เลือกสถานที่ตั้งสมอ ควรพิจารณาน้ำกระแสน้ำและทิศทางลมและปัจจัยอื่นๆ จากนั้นให้เลือกพื้นที่ที่กว้างพอที่คุณสามารถทำให้เรือของคุณอยู่ในภายใต้ลมและแรงน้ำ เพื่อไม่ให้ชนกับเรืออื่นๆ ริมฝั่งสะพานท่าเรือหรือโขดหินปะการังและสถานที่ต่างๆ นอกจากนี้โปรดหลีกเลี่ยงจอดเรืออยู่ในช่องทางแคบๆ เป็นอุปสรรคต่อเรืออื่นๆ ในการแล่นเรือ ไม่ควรใช้ป้ายคำเตือนทางน้ำหรือลอยสัญลักษณ์ เครื่องหมายนำเชือกผูกเรือ
เมื่อเลือกสถานที่จุดปล่อยแล้ว โปรดจำใว้ว่าการไหลของน้ำหรือทิศทางลมค่อยๆ นำเรือใกล้เข้ามา เนื่องมาจากทิศทางลมและทิศทางการไหลที่ไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน ดังนั้น ควรเลือกฝ่ายที่มีผลกระทบมาก หลังจากที่เรือค่อยๆ ลอยไปที่จุดกำหนด นำสมอเรือลงจากหัวเรืออย่างช้าๆ ไม่ควรใช้วิธีการโยนสมอในการทอดสมอ หลังจากที่สมอลดลงไปในใต้น้ำให้เรือลอยกลับอย่างช้าๆ ไปพร้อมกับลมหรือน้ำจนกว่าสมอจะยึดติดอย่างแน่นหนา
เชือกสมอที่ปล่อยออกไป ควรยาวกว่าความลึกของน้ำอย่างน้อย 3 เท่าขึ้นไป ในขณะทอดสมอ ตรวจสอบให้แน่ใจว่ามือและเท้าไม่ได้พันกันกับเชือกสมอ หลังจากเสร็จสิ้นการทอดสมอให้นำหัวเชือกสมอมัดแน่นที่เสาเข็มหัวเรือ